วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา


1.วันมาฆบูชา  ( เดือน 5 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ กุมภาพันธ์ )
มาฆบูชา  แปลว่า  การบูชาในเดือน  3  ใต้   เป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนาในที่ท่ามกลางสงฆ์    เวฬุวันมหาวิหาร  โดยพระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุสำคัญ  4  ประการ  ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า  จาตุรงคสันนิบาต  ซึ่งแปลว่า  การประชุมที่พร้อมด้วยองค์  4  คือ
1. วันนั้นเป็นวันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  3
2. วันนี้พระอรหันต์ขีณาสพ  จำนวน  1,250  รูป  มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
3.พระอรหันต์ขีณาสพที่มาประชุมกันนั้น  ล้วนเป็นผู้หมดกิเลสบรรลุอภิญญา  6     แล้วทั้งสิน  
4. พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหมดนั้น  เป็นเอหิภิกขุ  คือเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท  จากพระพุทธเจ้าโดยตรงพระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนี้จึงได้วางหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนาไว้โดยได้ตรัสเป็นคำประพันธ์ไว้  3  คาถากึ่ง  ดังนี้
                การไม่ทำความชั่วทั้งปวง  การบำเพ็ญกุศลให้ถึงผลพร้อม  การทำจิตของตนให้ผ่องใส  นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
                ความอดทน  คือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง  พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็นบรมธรรม  ผู้ทำร้ายคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต  ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
                การไม่กล่าวร้าย  การไม่ทำร้าย  ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์  ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร  ที่นั่งนอนอันสงัด  ความเพียรในอธิจิต  นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
คำสอนเหล่านี้ถือเป็นหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนา  แต่เรามักจะจำได้เฉพาะคาถาแรกเท่านั้นว่า  ไม่ทำชั่ว  ทำแต่ความดี  และทำจิตใจให้บริสุทธิ์.
วันวิสาขบูชา (เดือน 8 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ พฤษภาคม )
วันวิสาขบูชาเป็นวันที่มีความสำคัญพิเศษที่สุดในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน  เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ล้วนเป็นวันที่มีความสำคัญต่อพระพุทธเจ้าทั้งหมด  แต่เกิดต่างปีกันในช่วงเวลา  80  ปี  เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นคือ  การประสูติ   การตรัสรู้  และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า  โดยทั้ง  3  เหตุการณ์เกิดขึ้น  ในวันเพ็ญเดือน  6  ใต้  เหมือนกัน  แต่ต่างปีกัน  คือ
                1.วันประสูติ  ตรงกับวันศุกร์  วันเพ็ญเดือน  6  ใต้  ปีจอ  เวลาสายใกล้เที่ยง  ก่อนพุทธศักราช  80  ปี  เกิดขึ้น    ป่าลุมพินีเขตติดต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ  ปัจจุบันเรียกว่า  ตำบลรุมมินเด
                2. วันตรัสรู้  เกิดขึ้นในเวลา  35  ปีต่อมา  ภายหลังที่สิทธัตถะกุมารเสด็จออกบรรพชาได้  6  ปี    โคนต้นไม้โพธิ์ใบชื่อว่า  อัสสัตถะ  ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  แคว้นมคธ  ปัจจุบันเรียกว่า  ตำบลพุทธคยา
                3. วันปรินิพพาน  เกิดขึ้นในปีที่  80  แห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้า    แท่นบรรทมระหว่างต้นรังคู่  ป่าสาละ  เมืองกุสินารา  ปัจจุบันเป็นตำบลกุสินารา  หรือกุสินาคาร์  รัฐอุตตรประเทศ
                นับเป็นการยากยิ่งที่เหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในวันเดียวกันของปีที่ต่างกัน  ดังนั้น ชาวพุทธจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา  และได้จัดพิธีบูชากันอย่างยิ่งใหญ่
วันอาสาฬหบูชา ( เดือน 10 เหนือ  ขึ้น 15 ค่ำ  กรกฎาคม )
อาสาฬหบูชา  ( อ่านว่า  อา-สาน-หะ-บู-ชา)  แปลว่า  การบูชาในเดือน  8  ใต้  เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง  โดยเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก  หลังจากที่ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเรียกว่า  ปฐมเทศนา  โดยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงในวันนั้นมีชื่อว่า  ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร  ผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดในวันนี้คือ  พระปัญจวัคคีย์
                เนื้อหาของพระธรรมเทศนาที่แสดงในวันนี้  เกี่ยวกับที่สุดโต่ง  2  ประการที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ  คือ
                1.อัตตกิลมถานุโยค  คือ  การทำตนให้ลำบากเปล่า  คือ  ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่มุ่งหมายด้วยวิธีทรมานตนเองให้ได้รับความลำบากต่าง ๆ
                2. กามสุขัลลิกานุโยค  คือ  การทำตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข
                โดยที่สุดโต่งทั้ง  2  ประการนี้  ไม่ใช่หนทางที่จะหลุดพ้นความทุกข์  ซึ่งพระองค์ได้ลงประพฤติปฏิบัติมาแล้ว  แต่ก็ไม่สามารถที่จะบรรลุความพ้นทุกข์ได้
                จากนั้น  พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ  4  ประการ  ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐหรือหลักความจริงที่ทำให้บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ  4  ประการ  คือ
                1.ทุกข์  คือ  ความไม่สบายกายไม่สบายใจ  ได้แก่  ขันธ์  5
            2. สมุทัย  คือ  เหตุเกิดทุกข์  ได้แก่  ตัณหา  3  ประการ  คือ  กามตัณหา  ภวตัณหา  และวิภวตัณหา
                3.นิโรธ  คือ  ความดับทุกข์
                4. มรรค  คือ  หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ได้แก่  อัฏฐังคิกมรรค  คือ  มรรคมีองค์  8  มีสัมมาทิฎฐิ  เป็นต้น
                เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศราจบลง  พระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดดวงตาเห็นธรรมแล้วปัญจวัคคีย์  จึงถือได้ว่า  วันขึ้น  15  ค่ำ  เดือน  8  ใต้  นี้เป็นวันที่พระรัตนตรัย  คือ  พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  เกิดขึ้นครบบริบูรณ์.
วันเข้าพรรษา  ( เดือน 10 เหนือ แรม 1 ค่ำ กรกฎาคม )
วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำ (ในวัดหรือสถานที่ใดที่หนึ่ง) ในช่วงฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน เพราะทรงเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ลำบากในการเดินทางออกไปเที่ยวสั่งสอนประชาชน ทั้งเป็นเวลาที่ชาวบ้านทั่วไปกำลังทำการเพาะปลูกตามเรือกสวนไร่นา ทรงเกรงว่าการเดินทางของพระภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์อาจไปเหยียบย่ำทำความเสียหายแก่พืชผล จึงทรงกำหนดเป็นพุทธบัญญัติ อนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักเป็นการชั่วคราว ดังกล่าว เรียกตามศัพท์ว่า จำพรรษา แปลว่าอยู่ประจำที่วัดในฤดูฝน 3 เดือน โดยจะไปพักค้างแรมที่อื่นไม่ได้ ยกเว้นเหตุพิเศษ 4 ประการ คือ
1.เพื่อนสหธรรมิก (พระภิกษุสามเณร) หรือบิดามารดาเจ็บป่วยไปเพื่อพยาบาลได้
2.เพื่อนสหธรรมิกอยากจะสึกไปเพื่อระงับมิให้สึกได้
3.ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น การหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิวิหารชำรุด
4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ จะไปเพื่อฉลองศรัทธาก็ได้ หรือด้วยเหตุอื่นๆ ที่อนุโลมเข้าทั้ง 4 ข้อ ข้อใดข้อหนึ่งได้
     เมื่อมีเหตุ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืนได้ไม่เกินครั้งละ 7 วัน เรียกว่า “สัตตาหะ”
      วันเข้าพรรษา มีระยะเวลากำหนดไว้ 2 ช่วง คือ
1.               ช่วงแรก เรียกว่า  ตรงกันวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ใต้ ถึงกลางเดือน 11 ใต้ เรียกว่า ปุริมพรรษา (พรรษาแรกก.ค.- ต.ค.)
2.               ช่วงที่สอง ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ใต้ ถึงเดือน 12 ใต้ เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา ( พรรษาหลัง ส.ค. – พ.ย. ) พระพุทธเจ้าทรงอนูญาตไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุที่หาที่อยู่จำพรรษาไม่ได้ หรือมีกิจที่ต้องทำค้างอยู่ได้เข้าพรรษาในช่วงนี้ก็ได้ โดยไม่ผิดพระวินัย
ปัจจุบันไม่มีการเข้าพรรษาแบบระยะที่สองแล้วเพราะไม่ได้รับกฐินเนื่องจากวันปวารณา (วันออกพรรษา) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ใต้

วัดอุทกวนาราม (นางแลใน)  โทร.๐๘-๙๖๓๗-๕๔๐๙      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น