วันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556
สืบชะตา
วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556
วันอังคารที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2556
...พุทธพยากรณ์ ๑๖ ประการ
พุทธพยากรณ์ 16 ประการ
พุทธพยากรณ์ 16 ประการ ที่ทำนายพระสุบิน(ความฝัน) ของ พระเจ้าโกศลราช ดังนี้
พุทธพยากรณ์ 16 ประการ ที่ทำนายพระสุบิน(ความฝัน) ของ พระเจ้าโกศลราช ดังนี้
ประการที่ 1 นั้นพระเจ้าโกศลราชทรงพระสุบินเห็นโคอุสุภราชดำสี่ตัววิ่งมาแต่สี่ทิศ ทำอาการดุจจะชนกันแต่ไม่ชน ต่างตัวต่างถอยหลังกลับ มีพุทธพยากรณ์ว่า ในอนาคตเบื้องหน้าเมื่อพระราชามิได้ตั้งอยู่ในธรรม ชนทั้งหลายมีแต่อกุศลจิต ฝนจักไม่ตกต้องตามฤดูกาล เมฆตั้งเค้าขึ้นทั้งสี่ทิศเปรียบเสมือนโคตั้งท่าจะชนกันแล้วถอยหนี
ประการที่ 2 ทรงพระสุบินว่า ต้นไม้ทั้งหลายเติบโตเพียงหนึ่งคืบหนึ่งศอก ก็ผลิตดอกออกผล
มีพุทธทำนายว่า ในอนาคตกาลเบื้องหน้า สัตว์ทั้งหลายจะมีราคะกฤษณากล้าแข็ง นางกุมารีที่มีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักไปสู่บุรุษอื่น จักเป็นหญิงมีระดู แลมีครรภ์ แล้วมีบุตรธิดา
ประการที่ 3 ทรงพระสุบินว่า ได้เห็นนางโคซึ่งแม่โค ดื่มกินน้ำนมนางลูกโคอันเกิดในวันนั้น
มีพุทธพยากรณ์ ว่าในอนาคตผู้น้อยจะไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่เอื้อเฟื้อต่อบิดามารดา ผู้เฒ่าผู้แก่จักเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งไม่ได้ ต้องประจบทารกขอเลี้ยงชีพ
ประการที่ 4 ทรงพระสุบินเห็นชนทั้งหลายปลดเปลื้องโคตัวใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงออกจากเกวียนแล้วนำลูกโคไปเทียมเกวียนแทน
มีพุทธทำนาย ว่ากาลข้างหน้าผู้ปกครอง ผู้หลักผู้ใหญ่ จักตั้งผู้น้อยที่โง่เขลาให้รับผิดชอบงานใหญ่ ไม่ตั้งผู้ใหญ่ที่ฉลาดรอบรู้ไว้ในที่เหมาะสม กิจการทั้งหลายจักเสื่อมทรามลงตามลำดับ
ประการที่ 5 ทรงพระสุบินเห็นม้าตัวหนึ่งมีปากสองข้าง รับอาหารจากคน 2 คน ปากละคน
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลภายหน้าผู้ปกครอง ผู้ใหญ่จะไม่ตั้งอยู่ในความสุจริตยุติธรรมในการตัดสินคดี การแข่งขัน จะรับสินบนทั้งสองฝ่าย เอาแต่สินบนเป็นประมาณ
ประการที่ 6 ทรงพระสุบินเห็นชนทั้งหลายขัดถาดทองคำทำเป็นที่ปัสสาวะสุนัขจิ้งจอกชรา
มีพุทธพยากรณ์ว่า ผู้ดีมีตระกุลจะตกยาก ตระกุลต่ำช้าทั้งหลายจะได้เป็นใหญ่ ผู้ดีมีตระกุลจะยกธิดาให้ผู้ไม่มีตระกุล
ประการที่ 7 ทรงพระสุบินว่า เห็นบุรุษผู้หนึ่งนั่งฟั่นเชือกหนังอยู่บนตั่ง หย่อนปลายเชือกที่ฟั่นแล้วให้ห้อยลงไป ณ ที่ภายใต้ตั่ง มีนางสุนัขจิ้งจอกหิวตัวหนึ่ง นอนอยู่ภายใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่ง ฯลฯ ก็กัดกินเชือกที่บุรุษฟั่นนั้นเรื่อยๆไป ยิ่งนั่งฟั่นก็หมดไปทุกที
มีพุทธทำนาย ว่าในอนาคตหญิงทั้งหลายจักไม่ซื่อตรงต่อสามี ผลาญทรัพย์ที่สามีหามาด้วยความยากลำบากให้หมดไป
ประการที่ 2 ทรงพระสุบินว่า ต้นไม้ทั้งหลายเติบโตเพียงหนึ่งคืบหนึ่งศอก ก็ผลิตดอกออกผล
มีพุทธทำนายว่า ในอนาคตกาลเบื้องหน้า สัตว์ทั้งหลายจะมีราคะกฤษณากล้าแข็ง นางกุมารีที่มีวัยยังไม่สมบูรณ์ จักไปสู่บุรุษอื่น จักเป็นหญิงมีระดู แลมีครรภ์ แล้วมีบุตรธิดา
ประการที่ 3 ทรงพระสุบินว่า ได้เห็นนางโคซึ่งแม่โค ดื่มกินน้ำนมนางลูกโคอันเกิดในวันนั้น
มีพุทธพยากรณ์ ว่าในอนาคตผู้น้อยจะไม่เคารพผู้ใหญ่ ไม่เอื้อเฟื้อต่อบิดามารดา ผู้เฒ่าผู้แก่จักเป็นคนอนาถาหาที่พึ่งไม่ได้ ต้องประจบทารกขอเลี้ยงชีพ
ประการที่ 4 ทรงพระสุบินเห็นชนทั้งหลายปลดเปลื้องโคตัวใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรงออกจากเกวียนแล้วนำลูกโคไปเทียมเกวียนแทน
มีพุทธทำนาย ว่ากาลข้างหน้าผู้ปกครอง ผู้หลักผู้ใหญ่ จักตั้งผู้น้อยที่โง่เขลาให้รับผิดชอบงานใหญ่ ไม่ตั้งผู้ใหญ่ที่ฉลาดรอบรู้ไว้ในที่เหมาะสม กิจการทั้งหลายจักเสื่อมทรามลงตามลำดับ
ประการที่ 5 ทรงพระสุบินเห็นม้าตัวหนึ่งมีปากสองข้าง รับอาหารจากคน 2 คน ปากละคน
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลภายหน้าผู้ปกครอง ผู้ใหญ่จะไม่ตั้งอยู่ในความสุจริตยุติธรรมในการตัดสินคดี การแข่งขัน จะรับสินบนทั้งสองฝ่าย เอาแต่สินบนเป็นประมาณ
ประการที่ 6 ทรงพระสุบินเห็นชนทั้งหลายขัดถาดทองคำทำเป็นที่ปัสสาวะสุนัขจิ้งจอกชรา
มีพุทธพยากรณ์ว่า ผู้ดีมีตระกุลจะตกยาก ตระกุลต่ำช้าทั้งหลายจะได้เป็นใหญ่ ผู้ดีมีตระกุลจะยกธิดาให้ผู้ไม่มีตระกุล
ประการที่ 7 ทรงพระสุบินว่า เห็นบุรุษผู้หนึ่งนั่งฟั่นเชือกหนังอยู่บนตั่ง หย่อนปลายเชือกที่ฟั่นแล้วให้ห้อยลงไป ณ ที่ภายใต้ตั่ง มีนางสุนัขจิ้งจอกหิวตัวหนึ่ง นอนอยู่ภายใต้ตั่งที่บุรุษนั้นนั่ง ฯลฯ ก็กัดกินเชือกที่บุรุษฟั่นนั้นเรื่อยๆไป ยิ่งนั่งฟั่นก็หมดไปทุกที
มีพุทธทำนาย ว่าในอนาคตหญิงทั้งหลายจักไม่ซื่อตรงต่อสามี ผลาญทรัพย์ที่สามีหามาด้วยความยากลำบากให้หมดไป
ประการที่ 8 ทรงพระสุบินเห็นกละออมใหญ่ใส่น้ำเต็มเปี่ยมใบหนึ่งแวดล้อมด้วยโอ่งเปล่าจำนวนมาก คนสี่จำพวกพากันตักน้ำใส่กละออมแต่ไม่ใส่ในโอ่งเปล่า
มีพุทธทำนาย ว่ากาลภายหน้าผู้ปกครองจะมุ่งประโยชน์ส่วนตน มีทรัพย์มากมายก็ไม่รู้จักพอ ยังหาผลประโยชน์จากผู้ยากไร้มาเพิ่มพูนให้ร่ำรวยขึ้นไปอีก เหมือนกละออม ที่น้ำล้นก็ยังเฝ้าเติมอยู่ร่ำไป ไพร่ฟ้าผู้ยากไร้เปรียบดังโอ่งเปล่าไม่ใครเหลียวแล
ประการที่ 9 พระเจ้าโกศลราชทรงพระสุบินเห็นสระบัวแห่งหนึ่งน้ำลึก ดาดาษไปด้วยบัวเบญจพรรณ มีท่าน้ำขึ้นลงโดยรอบ ฝูงสัตว์ทั้งหลายพากันลงดื่ม น้ำกลางสระกลับขุ่น แต่น้ำที่ขอบสระที่สัตว์เหยียบย่ำกลับใส
มีพุทธทำนาย ว่ากาลภายหน้าผู้ปกครองจะไร้คุณธรรม ปกครองด้วยความบีบคั้นทารุณ ราษฎรทั้งหลายเหลือทนก็ละทิ้งถิ่นฐานจากเมืองไปอยู่แดนกันดารชนบท เมืองใหญ่จะว่างเปล่า
ประการที่ 10 ทรงพระสุบินเห็นข้าวหุงหม้อเดียวกันมีทั้งดิบ แฉะ สุกๆดิบๆ
มีพุทธพยากรณ์ ว่าในกาลภายหน้าผู้ปกครอง ข้าราชการและราษฎรตลอดถึงสมณะชีพราหมณ์จะไม่อยู่ในศีลธรรม บันดาลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ที่แล้งก็แล้งจัด ที่ฝนมากก็ท่วมหนัก ที่พอดีนั้นหามิได้ พืชพันธ์ข้าวกล้าไม่มีความอุดมสมบูรณ์พอเหมาะพอดี
มีพุทธทำนาย ว่ากาลภายหน้าผู้ปกครองจะมุ่งประโยชน์ส่วนตน มีทรัพย์มากมายก็ไม่รู้จักพอ ยังหาผลประโยชน์จากผู้ยากไร้มาเพิ่มพูนให้ร่ำรวยขึ้นไปอีก เหมือนกละออม ที่น้ำล้นก็ยังเฝ้าเติมอยู่ร่ำไป ไพร่ฟ้าผู้ยากไร้เปรียบดังโอ่งเปล่าไม่ใครเหลียวแล
ประการที่ 9 พระเจ้าโกศลราชทรงพระสุบินเห็นสระบัวแห่งหนึ่งน้ำลึก ดาดาษไปด้วยบัวเบญจพรรณ มีท่าน้ำขึ้นลงโดยรอบ ฝูงสัตว์ทั้งหลายพากันลงดื่ม น้ำกลางสระกลับขุ่น แต่น้ำที่ขอบสระที่สัตว์เหยียบย่ำกลับใส
มีพุทธทำนาย ว่ากาลภายหน้าผู้ปกครองจะไร้คุณธรรม ปกครองด้วยความบีบคั้นทารุณ ราษฎรทั้งหลายเหลือทนก็ละทิ้งถิ่นฐานจากเมืองไปอยู่แดนกันดารชนบท เมืองใหญ่จะว่างเปล่า
ประการที่ 10 ทรงพระสุบินเห็นข้าวหุงหม้อเดียวกันมีทั้งดิบ แฉะ สุกๆดิบๆ
มีพุทธพยากรณ์ ว่าในกาลภายหน้าผู้ปกครอง ข้าราชการและราษฎรตลอดถึงสมณะชีพราหมณ์จะไม่อยู่ในศีลธรรม บันดาลให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ที่แล้งก็แล้งจัด ที่ฝนมากก็ท่วมหนัก ที่พอดีนั้นหามิได้ พืชพันธ์ข้าวกล้าไม่มีความอุดมสมบูรณ์พอเหมาะพอดี
ประการที่ 11 ทรงพระสุบินเห็นคนทั้งหลายนำแก่นจันทน์อันมีค่าแสนตำลึงไปแรกกับนมเน่า
มีพุทธพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลภายหน้าภิกษุผู้อลัชชีทั้งหลายไม่มีความละอายแก่บาป เป็นผู้โลเลโลภในจตุปัจจัยจักมีขึ้น ภิกษุพวกอลัชชีเหล่านั้น จักเอาธรรมที่ตถาคตกล่าวติเตียนความโลภไปแสดงให้ชนทั้งหลายอื่นฟัง เพื่อชนทั้งหลายอื่นนั้นละความโลภความตระหนี่ แล้วบริจาคปัจจัย มีจีวรเป็นต้นให้แก่ตน แต่ส่วนพวกอลัชชีภิกษุนั้นจักไม่อาจที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัจจัยลาภแล้วตั้งอยู่ในทางอันเป็นฝักฝ่ายที่จะออกไปจากทุกข์ได้ อนึ่ง จักไม่อาจแสดงธรรมกระทำให้ผู้ฟังมีหน้าเฉพาะต่อพระนิพพานได้ เมื่อทายกทั้งหลายได้ฟังแต่บทพยัญชนะอันสมบูรณ์ หรือเสียงอันไพเราะเท่านั้น ก็พากันบริจาคทาน ฯลฯ อลัชชีภิกษุทั้งหลายพวกอื่นอีกจักนั่ง แสดงธรรม ณ ระหว่างถนนแลทางสี่แพร่ง แลประตูเป็นอาทิ ทั้งนี้ด้วยความโลภอยากจะได้เงินจากชาวบ้านเป็นที่ตั้ง
ประการที่ 12 ทรงพระสุบินเห็นผลน้ำเต้าเปล่าซึ่งควรที่จะต้องลอยน้ำกลับจมลง
มีพุทธพยากรณ์ว่า กาลเมื่อโลกแปรปรวนคนเลวจักเสวยอำนาจ ถ้อยคำของผู้ปราศจากศีลสัตย์ เหมือนเช่นน้ำเต้าอันเปล่าที่ควรจะเลื่อนลอยนั้นจักกลับเป็นคำตั้งมั่นอยู่ประหนึ่งว่าน้ำเต้าอันจมตั้งอยู่ ฉะนั้น
ประการที 13 ทรงพระสุบินเห็นศิลาแท่งใหญ่ ลอยน้ำประดุจดังสำเภา ฉะนั้น
มีพุทธทำนายว่า ในกาลข้างหน้าถ้อยคำของนักปราชญ์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมจักไม่เป็นหลักตั้งมั่นคง เปรียบเสมือนแท่งศิลาลอยน้ำ
ประการที่ 14 ทรงพระสุบินนางเขียดตัวน้อยกลืนกินงูเห่า
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลเมื่อโลกเสื่อมทรามลงในอนาคตกาลนั้น แท้จริงในอนาคตภายภาคหน้านั้น มนุษย์ทั้งหลายจักมีราคะกล้าแลมีชาติอันชั่ว ประพฤติตนตามอำนาจแห่งกิเลส บุรุษจักลุ่มหลง อยู่ในอำนาจภรรยา เหมือนงูเห่าถูกนางเขียด กลืนกินฉะนั้น
ประการที่ 15 ทรงพระสุบินเห็นฝูงหงส์ทองตามแวดล้อมกา
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลอนาคตผู้ปกครองจะเลี้ยงคนเลวไว้ใกล้ –ชิด เมื่อผู้ดีมีตระกุลตกต่ำก็จำเป็นต้องสอพลอคนเลวเพื่อความอยู่ลอด
ประการที่ 16 ทรงพระสุบินเห็นแพะไล่เคี้ยวกินเสือเหลือง ฝูงเสือเห็นแพะแต่ไกลก็หวาดกลัวพากันวิ่งหลบซ่อน
มีพุทธพยากรณ์ว่า ในอนาคตกาลภายหน้าภิกษุผู้อลัชชีทั้งหลายไม่มีความละอายแก่บาป เป็นผู้โลเลโลภในจตุปัจจัยจักมีขึ้น ภิกษุพวกอลัชชีเหล่านั้น จักเอาธรรมที่ตถาคตกล่าวติเตียนความโลภไปแสดงให้ชนทั้งหลายอื่นฟัง เพื่อชนทั้งหลายอื่นนั้นละความโลภความตระหนี่ แล้วบริจาคปัจจัย มีจีวรเป็นต้นให้แก่ตน แต่ส่วนพวกอลัชชีภิกษุนั้นจักไม่อาจที่จะเปลื้องตนให้พ้นจากปัจจัยลาภแล้วตั้งอยู่ในทางอันเป็นฝักฝ่ายที่จะออกไปจากทุกข์ได้ อนึ่ง จักไม่อาจแสดงธรรมกระทำให้ผู้ฟังมีหน้าเฉพาะต่อพระนิพพานได้ เมื่อทายกทั้งหลายได้ฟังแต่บทพยัญชนะอันสมบูรณ์ หรือเสียงอันไพเราะเท่านั้น ก็พากันบริจาคทาน ฯลฯ อลัชชีภิกษุทั้งหลายพวกอื่นอีกจักนั่ง แสดงธรรม ณ ระหว่างถนนแลทางสี่แพร่ง แลประตูเป็นอาทิ ทั้งนี้ด้วยความโลภอยากจะได้เงินจากชาวบ้านเป็นที่ตั้ง
ประการที่ 12 ทรงพระสุบินเห็นผลน้ำเต้าเปล่าซึ่งควรที่จะต้องลอยน้ำกลับจมลง
มีพุทธพยากรณ์ว่า กาลเมื่อโลกแปรปรวนคนเลวจักเสวยอำนาจ ถ้อยคำของผู้ปราศจากศีลสัตย์ เหมือนเช่นน้ำเต้าอันเปล่าที่ควรจะเลื่อนลอยนั้นจักกลับเป็นคำตั้งมั่นอยู่ประหนึ่งว่าน้ำเต้าอันจมตั้งอยู่ ฉะนั้น
ประการที 13 ทรงพระสุบินเห็นศิลาแท่งใหญ่ ลอยน้ำประดุจดังสำเภา ฉะนั้น
มีพุทธทำนายว่า ในกาลข้างหน้าถ้อยคำของนักปราชญ์ ผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมจักไม่เป็นหลักตั้งมั่นคง เปรียบเสมือนแท่งศิลาลอยน้ำ
ประการที่ 14 ทรงพระสุบินนางเขียดตัวน้อยกลืนกินงูเห่า
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลเมื่อโลกเสื่อมทรามลงในอนาคตกาลนั้น แท้จริงในอนาคตภายภาคหน้านั้น มนุษย์ทั้งหลายจักมีราคะกล้าแลมีชาติอันชั่ว ประพฤติตนตามอำนาจแห่งกิเลส บุรุษจักลุ่มหลง อยู่ในอำนาจภรรยา เหมือนงูเห่าถูกนางเขียด กลืนกินฉะนั้น
ประการที่ 15 ทรงพระสุบินเห็นฝูงหงส์ทองตามแวดล้อมกา
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลอนาคตผู้ปกครองจะเลี้ยงคนเลวไว้ใกล้ –ชิด เมื่อผู้ดีมีตระกุลตกต่ำก็จำเป็นต้องสอพลอคนเลวเพื่อความอยู่ลอด
ประการที่ 16 ทรงพระสุบินเห็นแพะไล่เคี้ยวกินเสือเหลือง ฝูงเสือเห็นแพะแต่ไกลก็หวาดกลัวพากันวิ่งหลบซ่อน
มีพุทธทำนาย ว่าในกาลภายหน้าคนต่ำช้าจะมีอำนาจเป็นที่หวาดเกรงของคนดี จนคนดีต้องหลบเร้น…
พุทธพยากรณ์นี้ จะเกิดขึ้นหลังพุทธกาล จึงนำพุทธพยากรณ์ทั้ง 16 ประการนี้ พิมพ์แจกเป็นวิทยาทาน แก่ ผู้ที่สนใจ และถวายเป็นพุทธบูชา ....
( พระครูสังฆรักษ์ชาติชาย โชติธมฺโม วัดอุทกวนาราม )
วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556
ฆราวาสธรรม
ความหมายของหลักธรรมที่ชื่อว่า
“ฆราวาสธรรม”
ประกอบด้วย 2 คำ “ฆราวาส” แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตในทางโลก,ผู้ครองเรือน,และ “ธรรม”แปลว่า ความถูกต้อง,ความดีงาม,นิสัยที่ดีงาม,คุณสมบัติ,ข้อปฏิบัติ, ฆราวาสธรรม แปลว่า คุณสมบัติของผู้ประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตทางโลก ประกอบด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ สัจจะ แปลว่า จริง ตรง แท้ ทมะ แปลว่า ฝึกตน ข่มจิต และรักษาใจ ขันติ แปลว่า อดทน จาคะ แปลว่า เสียสละ
ความสำคัญของหลักธรรม 4 ประการ ที่มีต่อการสร้างตัวนี้ พระพุทธองค์ถึงกับท้าให้ไปถามผู้รู้ท่านอื่นๆ ว่า มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างเกียรติยศให้คนเราได้เท่ากับการมี “สัจจะ” หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างปัญญาให้คนเราได้เท่ากับการที่มี “ทมะ” หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างทรัพย์สมบัติให้คนเราได้เท่ากับการมี “ขันติ” หรือไม่ มีสิ่งใดในโลกนี้ที่สร้างหมู่มิตรให้คนเราได้เท่ากับการมี “จาคะ” หรือไม่ การที่พระพุทธองค์ทรงท้าให้ไปถามผู้รู้อื่นๆ อย่างนี้ก็หมายความว่า ไม่มีธรรมะใดๆ ที่จะใช้สร้างตัวให้ประสบความสำเร็จได้ยิ่งกว่าการสร้างสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ ให้เกิดขึ้นในตนอีกแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งก็คือคนที่จะยืนหยัดผ่านอุปสรรคต่างๆ ในโลกนี้ไปจนกระทั่งพบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องสร้าง “ฆราวาสธรรม” ให้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานประจำตนก่อนนั่นเอง เพราะฉะนั้น ความหมายที่แท้จริงของ ฆราวาสธรรม คือ คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสร้างเกียรติยศ สร้างปัญญา สร้างทรัพย์สมบัติ และสร้างหมู่มิตรให้เกิดขึ้นได้สำเร็จด้วยกำลังความเพียรของตน
อานิสงส์ของการสร้างตัวให้มีฆราวาสธรรม
การมีสัจจะ ปลูกนิสัยความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว-เป็นคนหนักแน่นมั่นคง-มีความเจริญก้าวหน้าในการประกอบหน้าที่การงาน-ได้รับความเคารพยกย่อง-มีคนเชื่อถือและยำเกรง-ครอบครัวมีความมั่นคง-ได้รับเกียรติยศชื่อเสียง การมีทมะ –ปลูกฝังนิสัยรักการฝึกฝนตนให้เกิดขึ้นในตัว-ทำให้เป็นคนมีความสามารถในการทำงาน-ไม่มีเวรกับใคร-ยับยั้งตนเองไม่ให้หลงไปทำผิดได้-สามารถตั้งตัวได้-มีปัญญาเป็นเลิศ การมีขันติ ปลูกฝังนิสัยการอดทนต่ออุปสรรคและปัญหาต่างๆ-ทำงานได้ผลดี-สามารถเป็นหลักในครอบครัวได้-สามารถเป็นหลักให้กับบริวารได้-ไม่มีเรื่องวิวาทกับคนอื่น-ไม่หลงผิดไปทำความชั่วได้-ทำให้ได้ทรัพย์มา การมีจาคะ ปลูกฝังการมีอารมณ์ผ่องใสและนิสัยเสียสละให้เกิดขึ้นในตัว-เป็นการสร้างความปลอดภัยแก่ตนเอง-เป็นที่นับหน้าถือตาของคนทั่วไป-ครอบครัวและสังคมเป็นสุข-มีกัลยาณมิตรรอบตัว
สรุปแล้วคุณของการมีฆราวาสธรรมโดยรวม ก็คือ เมื่อมีสัจจะย่อมมีเกียรติยศชื่อเสียง เมื่อมีทมะย่อมได้ปัญญา เมื่อมีขันติย่อมเกิดทรัพย์ในบ้าน และเมื่อมีจาคะย่อมเกิดมิตรที่ดีไว้เป็นสมัครพรรคพวกในสังคม
โทษของการไม่สร้างตัวให้มี “ฆราวาสธรรม”
การขาดสัจจะ-ปลูกนิสัยขาดความรับผิดชอบให้เกิดขึ้นในตัว-เป็นคนเหลาะแหละ-พบแต่ความตกต่ำ-มีแต่คนดูถูก-ไม่มีคนเชื่อถือ-ไม่สามารถรองรับความเจริญต่างๆได้-ไร้เกียรติยศชื่อเสียง การขาดทมะ-ขาดนิสัยรักการฝึกฝนตนเอง-ทำให้ขาดความสามรถในการทำงาน-สามารถหลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย-จะเกิดทะเลาะวิวาทได้ง่าย-จะจมอยู่กับอบายมุข-ครอบครัวเดือดร้อน-ไม่สามารถตั้งตัวได้-เป็นคนโง่เขลา การขาดสติ- ไม่สามารถอดทนต่อปัญหาและอุปสรรคต่างๆได้-เป็นคนจับจด ทำงานคั่งค้าง-ไม่สามารถเป็นหลักให้ครอบครัวได้-หลงผิดไปทำความชั่วได้ง่าย-ไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้อื่น-เต็มไปด้วยศัตรู-ขาดความเจริญก้าวหน้า-ทำให้เสื่อมจากทรัพย์ การขาดจาคะ-
ปลูกฝังความตระหนี่ให้เกิดขึ้นในใจ-ได้รับคำครหา
ติเตียน-เป็นทุกข์ใจ-ไม่มีใครอยากเข้าใกล้
สรุปแล้วโทษของการขาดฆราวาสธรรมโดยรวมก็คือ เมื่อขาดสัจจะย่อมเกิดปัญหา ถูกหวาดระแวง เมื่อขาดทมะย่อมเกิดปัญหาความโง่เขลา เมื่อขาดขันติย่อมเกิดปัญหาความยากจน และเมื่อขาดจาคะย่อมเกิดปัญหาความเห็นแก่ตัวเกิดขึ้นในสังคม.
หลักสาราณียธรรม 6 ประการ
สาราณียธรรม 6 หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ถือว่าเป็นธรรมที่เป็นพลังในการสร้างความสามัคคี มีอยู่ 6 ข้อ คือ
1.กายกรรม ประกอบด้วยความเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่น
2.วจีกรรม ประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน พูดมีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน
3.มโนกรรม ประกอบด้วยเมตตา ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกันไม่คิดอิจฉาริษยาหรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกันความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม
4.สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร เพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน
5.สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลให้เหมาะสมตามสถานะของตนมีความประพฤติสุจริต ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น
6.ทิฉฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบ
ธรรม 6 ประการ ที่ผู้ใดได้ประพฤติจะเกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกื้อกูลกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป.
โอวาทของพระพุทธเจ้า
1.สัพพปาปัสสะ อกรณัง เว้นจากทุจริตทุกอย่าง
คือ เว้นประพฤติชั่วไม่กระทำบาปหยาบช้า
2.กุสลัสสูปสัมปทา ประกอบสุจริต
คือ ทำบุญทำกุศลให้ถึงพร้อม
3.สจิตตปริโยทปนัง ทำจิตให้หมดจด
คือ ทำจิตให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองทำจิตใจให้
ผ่องใส
ข้อควรพิจารณา
1.ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่ธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
2.ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
3.ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไม่ได้
4.ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
5.ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
อีกหนึ่งนัยยะที่ควรพิจารณา
1.มั่นพิจารณาสังขารตนว่า จักต้องร่วงโรยแก่ชราไปทุกขณะอย่ามัวลุ่มหลงอยู่ว่ายังหนุ่มยังสาว
2.ความเจ็บไข้ได้ป่วยเป็นของธรรมดาคู่กับสิ่งมีชีวิต
3.ความตายเป็นวาระสุดท้ายของการมีชีวิต ไม่มีชีวิตใดจะหลีกเลี่ยงได้
4.เราต้องพลัดพรากจากของรักของหวงไม่วันนี้ก็วันหน้า
5.กรรมเป็นของตนเอง กระทำกรรมใดย่อมได้รับผลแห่งกรรม นั้น.
วัดอุทกวนาราม (นางแลใน) โทร.๐๘-๙๖๓๗-๕๔๐๙
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
1.วันมาฆบูชา ( เดือน 5 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ กุมภาพันธ์ )
มาฆบูชา แปลว่า การบูชาในเดือน 3 ใต้ เป็นวันที่มีความสำคัญวันหนึ่งของพระพุทธศาสนาในที่ท่ามกลางสงฆ์ ณ เวฬุวันมหาวิหาร โดยพระพุทธเจ้าทรงปรารภเหตุสำคัญ 4 ประการ ที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า จาตุรงคสันนิบาต ซึ่งแปลว่า การประชุมที่พร้อมด้วยองค์ 4 คือ
1. วันนั้นเป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
2. วันนี้พระอรหันต์ขีณาสพ จำนวน 1,250 รูป มาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย
3.พระอรหันต์ขีณาสพที่มาประชุมกันนั้น ล้วนเป็นผู้หมดกิเลสบรรลุอภิญญา 6 แล้วทั้งสิน
4. พระอรหันต์ขีณาสพทั้งหมดนั้น เป็นเอหิภิกขุ คือเป็นผู้ได้รับการอุปสมบท จากพระพุทธเจ้าโดยตรงพระพุทธองค์ทรงปรารภเหตุนี้จึงได้วางหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนาไว้โดยได้ตรัสเป็นคำประพันธ์ไว้ 3 คาถากึ่ง ดังนี้
“การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญกุศลให้ถึงผลพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
“ความอดทน คือความอดกลั้นเป็นตบะอย่างยิ่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็นบรมธรรม ผู้ทำร้ายคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต ผู้เบียดเบียนคนอื่นไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ”
“การไม่กล่าวร้าย การไม่ทำร้าย ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ที่นั่งนอนอันสงัด ความเพียรในอธิจิต นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย”
คำสอนเหล่านี้ถือเป็นหลักการที่สำคัญของพระพุทธศาสนา แต่เรามักจะจำได้เฉพาะคาถาแรกเท่านั้นว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์.
วันวิสาขบูชา (เดือน 8 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ พฤษภาคม )
วันวิสาขบูชาเป็นวันที่มีความสำคัญพิเศษที่สุดในพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปในหมู่พุทธศาสนิกชน เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนี้ล้วนเป็นวันที่มีความสำคัญต่อพระพุทธเจ้าทั้งหมด แต่เกิดต่างปีกันในช่วงเวลา 80 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นคือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า โดยทั้ง 3 เหตุการณ์เกิดขึ้น ในวันเพ็ญเดือน 6 ใต้ เหมือนกัน แต่ต่างปีกัน คือ
1.วันประสูติ ตรงกับวันศุกร์ วันเพ็ญเดือน 6 ใต้ ปีจอ เวลาสายใกล้เที่ยง ก่อนพุทธศักราช 80 ปี เกิดขึ้น ณ ป่าลุมพินีเขตติดต่อระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์และกรุงเทวทหะ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลรุมมินเด
2. วันตรัสรู้ เกิดขึ้นในเวลา 35 ปีต่อมา ภายหลังที่สิทธัตถะกุมารเสด็จออกบรรพชาได้ 6 ปี ณ โคนต้นไม้โพธิ์ใบชื่อว่า อัสสัตถะ ใกล้แม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันเรียกว่า ตำบลพุทธคยา
3. วันปรินิพพาน เกิดขึ้นในปีที่ 80 แห่งพระชนมายุของพระพุทธเจ้า ณ แท่นบรรทมระหว่างต้นรังคู่ ป่าสาละ เมืองกุสินารา ปัจจุบันเป็นตำบลกุสินารา หรือกุสินาคาร์ รัฐอุตตรประเทศ
นับเป็นการยากยิ่งที่เหตุการณ์สำคัญหลายเหตุการณ์จะเกิดขึ้นในวันเดียวกันของปีที่ต่างกัน ดังนั้น ชาวพุทธจึงถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และได้จัดพิธีบูชากันอย่างยิ่งใหญ่
วันอาสาฬหบูชา ( เดือน 10 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ กรกฎาคม )
อาสาฬหบูชา ( อ่านว่า อา-สาน-หะ-บู-ชา) แปลว่า การบูชาในเดือน 8 ใต้ เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันหนึ่ง โดยเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเรียกว่า ปฐมเทศนา โดยพระธรรมเทศนาที่ทรงแสดงในวันนั้นมีชื่อว่า ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ผู้ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโปรดในวันนี้คือ พระปัญจวัคคีย์
เนื้อหาของพระธรรมเทศนาที่แสดงในวันนี้ เกี่ยวกับที่สุดโต่ง 2 ประการที่ไม่ควรประพฤติปฏิบัติ คือ
1.อัตตกิลมถานุโยค คือ การทำตนให้ลำบากเปล่า คือ ความพยายามเพื่อบรรลุผลที่มุ่งหมายด้วยวิธีทรมานตนเองให้ได้รับความลำบากต่าง ๆ
2. กามสุขัลลิกานุโยค คือ การทำตนให้พัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามสุข
โดยที่สุดโต่งทั้ง 2 ประการนี้ ไม่ใช่หนทางที่จะหลุดพ้นความทุกข์ ซึ่งพระองค์ได้ลงประพฤติปฏิบัติมาแล้ว แต่ก็ไม่สามารถที่จะบรรลุความพ้นทุกข์ได้
จากนั้น พระองค์ทรงแสดงอริยสัจ 4 ประการ ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐหรือหลักความจริงที่ทำให้บุคคลเป็นผู้ประเสริฐ 4 ประการ คือ
1.ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ ได้แก่ ขันธ์ 5
2. สมุทัย คือ เหตุเกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 ประการ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
3.นิโรธ คือ ความดับทุกข์
4. มรรค คือ หนทางที่จะนำไปสู่ความดับทุกข์ได้แก่ อัฏฐังคิกมรรค คือ มรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฎฐิ เป็นต้น
เมื่อพระพุทธเจ้าแสดงพระธรรมเทศราจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะได้เกิดดวงตาเห็นธรรมแล้วปัญจวัคคีย์ จึงถือได้ว่า วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ใต้ นี้เป็นวันที่พระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เกิดขึ้นครบบริบูรณ์.
วันเข้าพรรษา ( เดือน 10 เหนือ แรม 1 ค่ำ กรกฎาคม )
วันเข้าพรรษา คือ วันที่พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำ (ในวัดหรือสถานที่ใดที่หนึ่ง) ในช่วงฤดูฝนเป็นเวลา 3 เดือน เพราะทรงเห็นว่าเป็นช่วงเวลาที่ลำบากในการเดินทางออกไปเที่ยวสั่งสอนประชาชน ทั้งเป็นเวลาที่ชาวบ้านทั่วไปกำลังทำการเพาะปลูกตามเรือกสวนไร่นา ทรงเกรงว่าการเดินทางของพระภิกษุสงฆ์สาวกของพระองค์อาจไปเหยียบย่ำทำความเสียหายแก่พืชผล จึงทรงกำหนดเป็นพุทธบัญญัติ อนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์หยุดพักเป็นการชั่วคราว ดังกล่าว เรียกตามศัพท์ว่า จำพรรษา แปลว่าอยู่ประจำที่วัดในฤดูฝน 3 เดือน โดยจะไปพักค้างแรมที่อื่นไม่ได้ ยกเว้นเหตุพิเศษ 4 ประการ คือ
1.เพื่อนสหธรรมิก (พระภิกษุสามเณร) หรือบิดามารดาเจ็บป่วยไปเพื่อพยาบาลได้
2.เพื่อนสหธรรมิกอยากจะสึกไปเพื่อระงับมิให้สึกได้
3.ไปเพื่อกิจของสงฆ์ เช่น การหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิวิหารชำรุด
4.หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ จะไปเพื่อฉลองศรัทธาก็ได้ หรือด้วยเหตุอื่นๆ ที่อนุโลมเข้าทั้ง 4 ข้อ ข้อใดข้อหนึ่งได้
เมื่อมีเหตุ 4 ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืนได้ไม่เกินครั้งละ 7 วัน เรียกว่า “สัตตาหะ”
วันเข้าพรรษา มีระยะเวลากำหนดไว้ 2 ช่วง คือ
1. ช่วงแรก เรียกว่า ตรงกันวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ใต้ ถึงกลางเดือน 11 ใต้ เรียกว่า ปุริมพรรษา (พรรษาแรกก.ค.- ต.ค.)
2. ช่วงที่สอง ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 9 ใต้ ถึงเดือน 12 ใต้ เรียกว่า ปัจฉิมพรรษา ( พรรษาหลัง ส.ค. – พ.ย. ) พระพุทธเจ้าทรงอนูญาตไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ภิกษุที่หาที่อยู่จำพรรษาไม่ได้ หรือมีกิจที่ต้องทำค้างอยู่ได้เข้าพรรษาในช่วงนี้ก็ได้ โดยไม่ผิดพระวินัย
ปัจจุบันไม่มีการเข้าพรรษาแบบระยะที่สองแล้วเพราะไม่ได้รับกฐินเนื่องจากวันปวารณา (วันออกพรรษา) คือวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ใต้
วัดอุทกวนาราม (นางแลใน) โทร.๐๘-๙๖๓๗-๕๔๐๙
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)